ประวัติกองทัพอากาศ

The Royal Thai Air Force History
“กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียวที่จะป้องกันมิให้การสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ”

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดากองทัพอากาศ

fa

พ.ศ.๒๔๕๓

ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ทรงริเริ่มขึ้นด้วยหวังที่จะใช้เครื่องบินเป็นอาวุธสำหรับป้องกันประเทศมิให้ข้าศึกบุกรุกเข้ามาถึงใจกลางประเทศเป็นสำคัญ นอกจากนั้น ยังได้ประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการคมนาคมในยามปกติ กิจการบินในประเทศสมัยแรก ๆ จึงเป็นกิจการบินทางทหาร ซึ่งเป็นบ่อเกิดอันสำคัญของการบินในกิจการพลเรือน เช่น การไปรษณีย์ทางอากาศ การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ และการบินพาณิชย์
A001
A012
ปี พ.ศ.๒๔๕๓ หลังจากนาย ชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น นักบินชาวเบลเยี่ยม ได้นำเครื่องบินแบบอ็องรี ฟาร์ม็อง ๔ ชื่อ “แวนด้า” มาแสดงการบินที่สนามราชกรีฑาสโมสรหรือสนามม้าสระปทุมเป็นครั้งแรกนั้น เป็นระยะเวลาที่ประเทศฝรั่งเศสกำลังตื่นตัวพัฒนาด้านการบิน
A021
จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบกได้ทรงเห็นความสำคัญ และความจำเป็นที่ประเทศไทยจำต้องจัดหาเครื่องบินไว้ป้องกันประเทศเหมือนต่างประเทศ (อธิบายใต้ภาพ) องค์ผู้ริเริ่มกิจการบินในประเทศไทย (จากซ้ายไปขวา)
    - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    - นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ
    - นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชร์อัครโยธิน
    - จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)
ดังนั้น กระทรวงกลาโหม จึงดำริตั้งกิจการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบกตั้งแต่นั้นมา และได้คัดเลือกนายทหาร ๓ นาย ส่งไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส คือ
นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ
(ต่อมาคือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ อดีตเจ้ากรมอากาศยาน คนแรก)
นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร
(ต่อมาคือ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์เจ้ากรมอากาศยาน คนที่สอง)
นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต
(ต่อมาคือ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต อดีตปลัดกรมอากาศยาน และ ผู้อำนวยการกองโรงงานอากาศยาน)
ทั้ง ๓ ท่าน ได้รับการฝึกบินจนสำเร็จ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ และได้เป็นผู้วางรากฐานด้านการบิน ทั้งในด้านการฝึกบิน และการช่างอากาศ ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็น “บุพการีทหารอากาศ” และเป็นนักบินหมายเลข ๑ , ๒ และ ๓ ของประเทศไทย ตามลำดับ
?????????????????????????????????????????????????
ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้ง มีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน ๘ เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก ๒ ชั้น จำนวน ๔ เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน ๔ เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง ๓ คน และเครื่องบินอีก ๘ เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง ๓ ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ ๒๗ มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"

กระทรวงกลาโหม ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองบินทหารบก
เมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ (วันที่ระลึกกองทัพอากาศ)

            นับแต่นั้นมา บทบาทของกำลังทางอากาศ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ นับตั้งแต่การเข้าร่วมรบ ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ซึ่งทำให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ของชาติ เป็นที่ยอมรับ และยกย่อง เป็นอันมาก และทางราชการได้ยกฐานะ กองบินทหารบกขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" ในเวลาต่อมา กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศชาติทางด้านต่างๆ อันเป็นรากฐาน ของกิจการหลายอย่างในปัจจุบัน อาทิ การบินส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์ และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น  
            ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์  อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่นๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารเป็น "กรมอากาศยาน" และเป็น "กรมทหารอากาศ" ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบ จากสีเขียว มาเป็นสีเทา ดังเช่นปัจจุบัน วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ กรมทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น"กองทัพอากาศ" มีนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกกองทัพอากาศ จึงได้ถือเอาวันที่ ๙ เมษายน ของทุกปีเป็น "วันกองทัพอากาศ"  กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้เป็นกำลังสำคัญในการปกป้อง รักษาอธิปไตยของชาติ อาทิ สงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลี และร่วมกับพันธมิตร ในสงครามเวียดนาม จากเครื่องบินใบพัดเพียง ๘ เครื่องในอดีต จนมาถึงเครื่องบินไอพ่นที่ทันสมัย ในปัจจุบัน กองทัพอากาศ ขอยืนยัน ที่จะดำรงความมุ่งมั่นในภารกิจ ที่จะพิทักษ์ รักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ ไว้ให้มั่นคงสถาพรตลอดไป
A071